วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555


เกาะสีชัง











ประวัติเกาะสีชัง  นาม "สีชัง"    
 อันนาม"สีชัง" นี้ จะมีมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เท่าที่พบหลักฐานจากหนังสือกำสรวลศรีปราชญ์ ซึ่งแต่งไว้เมื่อราวปีพุทธศักราช ๒๒๓๕ เรียกเกาะสีชังว่า สระชังดังในโคลงบทที่๗๘ได้พรรณนาถึง
เกาะสีชังไว้ดังนี้
       มุ่งเห็นละล่ายน้ำ            ตาตก แม่ฮา
   เกาะสระชงงชลธี            โอบอ้อม
   มลกกเห็นไผ่รยงรก          เกาะไผ่ พู้นแม่
   ขยวสระดื้อล้ำย้อม           ยอดคราม
  จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่านาม สระชัง” คงจะเรียกขานกันมาก่อนปีพุทธศักราช ๒๒๓๕ เข้าใจว่า ต่อมาการออกเสียง สระชัง” อาจเพี้ยนไปเป็น สีชัง” ซึ่งเป็นเสียงสั้น และง่ายกว่า เช่นเดียวกับคำอื่นๆ อีกหลายคำ เช่น บางปลากง ออกเสียงเป็น บางปะกง บางเชือกหนัง ออกเสียงเป็น บางฉนัง วัดเสาประโคน ออกเสียงเป็น วัดเสาวคนธ์ ทัพพระยา ออกเสียงเป็น พัทยา เป็นต้น ได้มีการสันนิษฐานกันเป็นหลายนัยเกี่ยวกับชื่อ สีชัง บ้างก็ว่า
คำว่า สีชัง เพี้ยนมาจาก สีห์ชังฆ์ ซึ่งแปลว่า แข้งสิงห์ บ้างก็ว่า สี กับ ชัง เป็นชื่อบุคคลผู้มาตั้ง
รกรากทำมาหากินอยู่บนเกาะนี้เป็นคู่แรก อย่างไรก็ตาม คำว่า สระชัง น่าจะมีความไพเราะและ
มีความหมายมากที่สุด ทั้งนี้เพราะว่า สระชัง หมายถึง การชะล้างเอาความเกลียดชังออกไป
มิได้หมายถึงสระน้ำแห่งความชิงชัง ) เช่นเดียวกับคำว่า สระบาป ซึ่งเป็นชื่อเทือกเขาใน
จังหวัดจันทบุรี สระบาป หมายถึง การชะล้างเอาบาปทิ้งไป ( มิได้หมายถึงห้วงน้ำแห่งบาป ) จึงถือโอกาสนี้ขออัญเชิญพระราชนิพนธ์ เมื่อคราวเสด็จประพาสจันทบุรีในปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ พรรณนาเกี่ยวกับคำว่า สระบาปไว้ดังนี้

                      สระบาปบาปก่อนสร้าง ปางใด         สระบ่สระทรวงใน สร่างสร้อย
                      สระสนานยิ่งอาไลย นุชนาฏ             สระช่วยสระบาปน้อย หนึ่งให้สบนา
                                        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
                      สระบาปบาปสร่างสิ้น ฉันใด            สระบ่สระโศกใน อกบ้าง
                      สระสร่างแต่กายใจ                          ยังขุ่น เขียวแฮ
                      สะจะสระโศกร้าง                             รุ่มร้อนฤามี
                                            กรมหลวงพิชิตปรีชากร
    อนึ่ง คำว่า สระชัง อาจเพี้ยนมาจากคำว่า สทึง หรือ จทึง ที่แปลว่า แม่น้ำ หรือ ห้วงน้ำ
ในภาษาเขมร คำอื่นๆ ในภาษาไทยที่เพี้ยนมาเช่นเดียวกัน เช่น สทิงพระ สทิงหม้อ คลองพระสทึง ฉะเชิงเทรา เป็นต้น คำว่า ฉะเชิงเทราเพี้ยนมาจาก สทึงเทรา ที่แปลว่า แม่น้ำลึก หรือห้วงน้ำลึก โดยนัยดังกล่าวข้างต้น คำว่า สระชัง ก็น่าจะเพี้ยนมาจาก สทึง กลายมาเป็น สเชิง สชัง สรชังจนเป็น สระชัง ในที่สุดก็อาจเป็นได้ ในสมัยโบราณ เมื่อการ
เดินทางค้าขายกับต่างประเทศยังใช้การคมนาคมขนส่งทางน้ำเป็นสำคัญ ไทยเราได้มีการ
ค้าขายกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ในบรรดาสินค้าที่นำไปขายมีเครื่องสังคโลกรวมอยู่
ด้วย ในสมัยนั้นเรือสินค้าของไทยเป็นจำนวนมากได้อับปางในบริเวณอ่าวไทยด้านตะวันออก
บริเวณเกาะสีชัง พัทยา และสัตหีบ ในขณะที่เรือสินค้าเดินทางออกมาจากปากอ่าวเข้าสู่
ทะเลใหญ่ ไม่มีสิ่งใดเป็นที่หมายแห่งสายตา จะมีก็แต่เกาะสีชังเท่านั้นเมื่อชาวเรือแล่นเรือ
มาถึงบริเวณนี้และมองเห็นเกาะสีชัง จึงเรียกบริเวณนี้ว่า สระชัง ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เป็น
ห้วงน้ำอันกว้างใหญ่ คำว่า สระชัง ได้กลายมาเป็น สีชัง ในปัจจุบัน
     จากหลักฐานต่างๆ แสดงว่าได้มีการเรียกชื่อเกาะสีชังว่า สระชัง กันมาแต่เดิมแล้ว อย่างน้อยก็คงก่อนปีพุทธศักราช ๒๒๓๕ หลังจากนั้นยังไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า คำว่า สระชัง ได้เลือนมาเป็น สีชัง ตั้งแต่สมัยใด จากหลักฐานทางวรรณคดีเท่าที่พบปรากฏว่าได้มี
การใช้คำว่า สีชัง เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๗๐ อันเป็นปีที่ นายมี ศิษย์ของท่านสุนทรภู่
เดินทางไปเมืองถลาง และได้แต่งนิราศถลางไว้ ดังปรากฏในคำกลอนตอนหนึ่งว่า

                      เหลียวเห็นเกาะสีชังนั่งพินิจ                เฉลียวคิดถึงนุชที่สุดหวัง
                      ให้นึกกลัวน้องหญิงจะชิงชัง                ถ้าเป็นดังชื่อเกาะแล้วเคราะห์กรรม

    หลังจากนั้นมาได้มีการใช้คำว่า สีชัง แพร่หลายขึ้น และคงจะไม่มีการเลือนไปเรียก
เป็นอย่างอื่นอีกต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากได้มีการจดบันทึกชื่อของสถานที่แห่งนี้ลงในทำเนียบของ
ทางราชการ กล่าวคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ พระองค์ได้เสด็จประพาสเกาะสีชัง โดยเรือกลไฟที่ต่อในประเทศไทย ชื่อ สยามอรสุมพล และได้มีการยกเกาะสีชังขึ้นเป็นอำเภอเกาะสีชัง ขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรปราการ ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ได้มีการยุบอำเภอเกาะสีชังเป็นกิ่งอำเภอ
เกาะสีชัง ขึ้นกับอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ กระทรวงมหาดไทยได้โอนกิ่งอำเภอเกาะสีชังจากอำเภอเมือง
สมุทรปราการไปขึ้นกับอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเกาะสีชังเป็นกิ่งอำเภอในจังหวัด
ชลบุรี เกาะสีชังได้ชื่อว่าเป็นภูมิสถานที่มีอากาศบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันว่าการที่ผู้เจ็บป่วย
หรือร่างกายไม่แข็งแรง หากได้รับอากาศบริสุทธิ์แล้ว จะทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นได้ ประกอบกับเกาะสีชังนี้มีภูมิประเทศที่สวยงามเป็นที่ร่มรื่น มีทั้งทะเลและป่าเขาลำเนาไพร ที่มีความงามตามธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยประเทืองใจให้แช่มชื่น และเมื่อผู้ใดมีความ
สบายกาย สบายใจปราศจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ผู้นั้นก็ย่อมจะมีอายุยืนนานโดยเหตุที่เกาะสีชัง
เป็นสถานที่ที่มีอากาศดีมีภูมิประเทศที่สวยงามประกอบกับอยู่ไม่ไกลเมืองหลวงมากนักบรรดา
เจ้านาย ข้าราชการ ประชาชนทั่วไป ตลอดจนชาวต่างประเทศ ต่างก็นิยมมาพักผ่อน พักฟื้น
และรักษาตัวกันเป็นจำนวนมากในอดีต เท่าที่ปรากฏในหลักฐาน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เคยเสด็จประพาสเกาะสีชังโดยเรือกลไฟสยามอรสุมพลนับเป็นครั้งแรก
ที่พระมหากษัตริย์เสด็จฯ ยังเกาะสีชัง เกาะสีชังในสมัยรัชกาลที่ ๔ ยังไม่มีประชาชนอาศัย
อยู่มากนัก ด้วยเพิ่งจะเริ่มเข้ามาอยู่กันไม่กี่ครัวเรือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเกาะสีชังอยู่เนืองๆ ทุกครั้งที่เสด็จฯ จะมียายเสม ซึ่งเป็นหญิงชาวเกาะที่เป็น
ผู้ใหญ่ เป็นที่นับถือของชาวเกาะได้เข้าเฝ้าฯ ทุกครั้ง ญาติพี่น้องของยายเสมเป็นผู้ที่มี อายุ
มากด้วยกันทุกคน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสสรรเสริญเกาะสีชังว่า
เป็นสถานที่ ที่อากาศดี ดังนั้น ผู้ที่อยู่บนเกาะจึงมีอายุยืนนานปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ในโอกาส
ที่พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเกาะสีชังนั้น พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์( พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ก็เคยตามเสด็จฯ มาด้วยหลายครั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น